Hacker ป่วน! ผู้ใช้ iPad

28/07/2010 เวลา 4:21 AM | เขียนใน NewsUpdate | ใส่ความเห็น

ผู้เชี่ยวชาญระบบรักษาความปลอดภัยแจ้งผู้ใช้ไอแพด (iPad) ของ Apple กำลังตกเป็นเป้าหมายของแฮคเกอร์ที่กำลังพยายามหลอกให้เจ้าของไอแพดดาวน์โหลดอัพเดต iTunes ปลอมเข้าไปในคอมพิวเตอร์ที่รันวินโดวส์ (Windows) เมื่อติดตั้งเข้าไปมันจะเปิดช่องสื่อสารให้ผู้ไม่หวังดีเจาะเข้าไปยังระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อสั่งการทำงานต่างๆ ตลอดจนส่งสแปมผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้

หากการแพร่กระจายไวรัสสำเร็จไวรัสชนิดนี้จะแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากแอนตี้ไวรัสส่วนใหญ่จะตรวจจับมัลแวร์ตัวนี้ได้ ผู้ใช้ Windows ที่ซื้อ iPad และไม่ได้รันโปรแกรมระบบรักษาความปลอดภัย BitDefenderได้แนะนำเจ้าของ iPad ว่า ไม่ควรคลิกลิงค์ใดๆ ที่ปรากฎใน pop-up แต่ควรดาวน์โหลด iTunes โดยตรงจากเว็บไซต์ Apple ก็จะทำให้ iPad ไม่ได้รับผลกระทบจากไวรัส ซึ่งมัลแวร์อันตรายนี้ยังมีการแพร่กระจายผ่านการแชร์ลิงค์บน Twitter และ email ด้วย

แต่ข่าวล่าสุดพบมัลแวร์ชนิดใหม่ที่สามารถเจาะเข้าระบบ Windows XP แม้แต่โปรแกรมแอนตี้ไวรัสก็ไม่สามารถตรวจพบได้ ซึ่งไวรัสดังกล่าวชื่อว่า KHOBE (Kernel Hook Bypassing Engine) ซึ่งใช้ช่องโหว่ของ System Service Descriptor Table ในการให้ Windows XP ยอมรับผ่านเข้าไปในระบบได้

ขณะที่แอนตี้ไวรัสกำลังทำงานมัลแวร์สามารถสลับการทำงานให้โปรแกรมยอมรับ Code ที่มีไวรัส หรือภัยคุกคามอื่นๆ ผ่านเข้าไปได้อย่างง่ายดาย ซึ่งปัจจุบันมีแอนตี้ไวรัสเพียงไม่กี่ตัวเท่านั้นที่สามารถหยุดมัลแวร์ชนิดนี้ได้และไม่สามารถเกิดขึ้นได้กับระบบที่รัน Windows Vista หรือ Windows 7 แต่คอมพิวเตอร์ทั่วโลกส่วนใหญ่จะอ่อนไหวต่อไวรัส KHOBE แม้กระทั่งคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ๆ เนื่องจากสามารถแยกเธรด (thread) การทำงานออกจากการตรวจสอบของแอนตี้ไวรัสได้

ดังนั้นก่อนที่จะคลิกดาวน์โหลดโปรแกรมเข้ามาไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราควรตรวจเช็คให้แน่ใจเสียก่อนว่าได้โปรแกรมชนิดนั้นลิงค์มาจากเว็บของผู้ให้บริการซอฟ์แวร์นั้นๆโดยตรง และควรอัพเดทโปรแกรมแอนตี้ไวรัสในเครื่องเป็นประจำ เพราะเทคโนโลยีพัฒนามากขึ้น บรรดาแฮคเกอร์ก็ยังไม่หยุดคิดค้นมัลแวร์ในรูปแบบที่ต่างออกไปเรื่อยๆ


ที่มา http://report.thaihotline.org/enews.php?act=sh&Id=Mjg=

ป้องกันตนเองจาก Cyber Space: ภัยต่อผู้หญิง

20/07/2010 เวลา 3:50 AM | เขียนใน ประชาสัมพันธ์ | ใส่ความเห็น

 

มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย ร่วมกับ อุทยานการเรียนรู้ (TK Park) ได้จัดการจัดสัมมนาในหัวข้อ “Cyber Space: ภัยต่อผู้หญิง” ข้อมูลที่น่าสนใจจากงานสัมมนาพบว่า คดีอาญาในประเทศไทยปี 2552 โดยทำการสำรวจระหว่างเดือนมกราคม – ธันวาคม 2552 พบว่าสถิติการถูกข่มขืนกระทำชำเราเท่ากับ 4,676 ราย คือเฉลี่ยการที่ผู้หญิงถูกข่มขืนวันละ 13 ราย หรือทุกๆ 2 ชั่วโมง แต่นักวิจัยต่างชาติได้พบว่าผู้หญิงที่ถูกข่มขืนแล้วไม่ได้มาดำเนินคดีแจ้งความมีมากกว่าเป็น 6 เท่า ซึ่งยังไม่รวมคดีมากมายที่ผู้หญิงถูกกระทำอนาจาร หรือการกระทำการที่ทำให้เกิดความขายหน้า เช่น การถูกโชว์อวัยวะ การถูกแอบถ่าย และการถูกข่มขู่ ซึ่งบอกได้ชัดเจนว่าผู้หญิงเป็นผู้ถูกกระทำมากกว่า

เหตุผลที่คนร้ายเลือกที่จะทำร้ายสตรีเพราะสตรีเป็นเพศที่มีจิตใจอ่อนโยน มองโลกในแง่ดี ขณะที่สื่อทั้งบนโทรทัศน์และสื่ออินเทอร์เน็ตสามารถชักจูงไปสู่การกระทำผิดได้อย่างง่ายดาย เช่น สื่อพฤติกรรมรุนแรง รวมถึงการใช้เทคโนโลยีในลักษณะที่ไม่สร้างสรรค์ เช่น การที่ผู้ใหญ่สอนเด็กให้ดูเว็บโป๊ โดยที่เด็กและเยาวชนยังไม่สามารถแยกแยะได้ว่าสื่อใดเป็นสื่อที่สร้างสรรค์ สื่อที่มีภาพลามกหรือการทำอนาจารถูกเผยแพร่อย่างเปิดกว้างมากขึ้น และภัยทางด้านอินเทอร์เน็ตมีความพิเศษอยู่สองด้าน คือ ปิดในสิ่งที่ควรเปิด เช่น การปิดบังข้อมูลที่แท้จริง ทำคนเลวให้เป็นคนที่ดูดีได้ และเปิดในสิ่งที่ควรปิด เช่น การเปิดเผยเรือนร่างของตัวเอง เช่น การโชว์ภาพเปลือยของตัวเองในแคมฟรอก Social Networking หรือการทำให้คนดีกลายเป็นคนเลว ซึ่งก็คือคนที่ใช้ชีวิตในสังคมปกติแต่มองเห็นช่องทางในการกระทำผิด ก็สร้างพฤติกรรมในที่ไม่ดีออกมาได้

พื้นที่เสี่ยงบนอินเทอร์เน็ต เช่น การโพสภาพ, การ Chat, Email, การเขียนข้อความ, Webcam (Live Broadcasting), คลิปวีดีโอ, และเกมและการ์ตูน ซึ่งนำมาสู่ภัยต่อผู้หญิงได้ทั้งสิ้น เช่น การนัดพบเพื่อล่อลวง การถ่ายภาพหรือคลิปส่วนตัวในลักษณะลามกอนาจารเพื่อใช้ในการข่มขู่ที่จะเผยแพร่ ผู้หญิงยุคใหม่จึงควรที่จะเรียนรู้ในการป้องกันตนเอง โดยเฉพาะการรู้จักระมัดระวังตนเองในการให้ข้อมูล หรือรูปภาพส่วนตัวมากเกินไป ระวังและปฏิเสธการนัดพบกับเพื่อนออนไลน์แปลกหน้า และควรมีสติไม่ยอมถ่ายภาพหรือคลิปส่วนตัว

ปัจจุบันมีหลายหน่วยงานได้ตระหนักถึงปัญหานี้ และออกมาคัดกรองสื่อที่ไม่เหมาะสม โดยการยกเลิก หรือ ห้ามเข้าเว็บไซต์ที่มีสื่อไม่เหมาะสม แต่ก็ไม่สามารถคัดกรองได้หมดเนื่องด้วยมีเว็บไซต์อยู่มากมายและเกิดขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นหน่วยงานภาครัฐควรสนับสนุนการให้ความรู้กับประชาชนในการป้องกันตนเองจากสื่อไม่เหมาะสม รวมถึงการยกระดับมาตรฐานจิตใจของคนในสังคมและการสร้างรั้วครอบครัวก็เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง พ่อแม่ควรจะสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ลูก โดยเริ่มจากการพูดคุยสร้างความเข้าใจให้แก่พวกเขา ว่าสิ่งไหนควรทำ / ไม่ควรทำ สิ่งไหนดี / ไม่ดี ทำไปแล้ว จะเกิดผลอะไรตามมาบ้าง ซึ่งนอกจากจะทำให้เด็กรู้จักคิดแล้ว ยังทำให้ความสัมพันธ์ภายในครอบครัวเข้มแข็งขึ้นอีกด้วย ครอบครัวที่เข้มแข็งก็จะส่งผลให้ชุมชน รวมไปถึงประเทศเกิดความเจริญต่อไป

ที่มา http://report.thaihotline.org/enews.php?act=sh&Id=MjU=

ขอเชิญชวนครูอาจารย์ เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการการผลิตสื่อดิจิทัล ด้วยโปรแกรม Adobe Captivate 3 ระหว่างเดือนกรกฎาคม – สิงหาคม 2553

16/07/2010 เวลา 4:05 AM | เขียนใน กิจกรรมไทยฮอตไลน์ | ใส่ความเห็น

สำนักอุทยานการเรียนรู้ (สอร.) ร่วมกับ มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย จะจัดอบรมพัฒนาทักษะด้านคอมพิวเตอร์ให้แก่ครู อาจารย์ เพื่อผลิตสื่อการสอนที่ดี ทันสมัย อีกทั้งยังสามารถขยายผลความรู้ไปสู่ นักเรียน และเยาวชน ซึ่งกิจกรรมนี้ได้จัดขึ้นต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี และในปีนี้เพื่อเป็นการต่อยอดให้กับครู นักเรียน ทั่วทั้ง 4 ภูมิภาค จึงจัดให้มีการอบรมเชิงปฏิบัติการสื่อดิจิทัล จากโปรแกรม Adobe Captivate 3  (E – learning)  เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้การทำสื่อการสอนที่เป็นบทเรียนดิจิทัลมากขึ้น และจะทำให้เป็นสื่อการเรียนรู้ที่น่าสนใจ กระตุ้นการอ่าน การค้นคว้าหาความรู้ให้กับนักเรียน และเยาวชนได้เป็นอย่างดี

 

 

 

 

 

 

 

ในปีนี้จะจัดอบรม 4 ภูมิภาค จำนวน 5 ครั้ง ระหว่างเดือน ก.ค. – ส.ค. 53 ดังนี้

     1. ภาคใต้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 2  อ. ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช
         วันที่จัดอบรม วันเสาร์ – อาทิตย์ที่  24 – 25 ก.ค.53         
        
ติดต่อสมัครเข้าอบรมได้ที่
              คุณจำเริญสุข
              โทร/แฟกซ์.075-411-670 ต่อ 105
               http://school.obec.go.th/prnst2
          หมายเหตุ ** รับจำนวนจำกัด รอบละ 100 คน **
    

      2.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 3 อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
          วันที่จัดอบรม วันเสาร์และอาทิตย์ที่ 31 ก.ค. – 1 ส.ค.53
          ติดต่อสมัครเข้าอบรมได้ที่
               
คุณนันนภัส
               โทร. 045-426545-48 แฟกซ์. 045-426547
                www.ubn3.obec.go.th/
           หมายเหตุ ** รับจำนวนจำกัด รอบละ 100 คน **


      3. ภาคเหนือ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 3  อ.แม่จัน จ.เชียงราย วัน
          วันที่จัดอบรม วันเสาร์และอาทิตย์ที่  14 -15 ส.ค. 53
          ติดต่อสมัครเข้าอบรมได้ที่
              
คุณจิตสุภากานต์
               โทร. 053-653463 แฟกซ์. 053-153715
                http://www.cr3.go.th/cr3/home/index.php
          หมายเหตุ ** รับจำนวนจำกัด รอบละ 100 คน **


      4. ภาคกลาง ศูนย์คอมพิวเตอร์วิศวกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กทม.
           วันที่จัดอบรม มี 2 รุ่น
                1. วันเสาร์ – อาทิตย์ที่ 21 – 22 ส.ค. 53
                2. วันเสาร์ – อาทิตย์ที่ 28 – 29 ส.ค. 53
           ติดต่อสมัครเข้าอบรมได้ที่
                
คุณสุจิตรา
                โทร. 0-2642-7031 แฟกซ์. 0-2642-7032
                 www.inetfoundation.or.th
           หมายเหตุ
  
 ** รับจำนวนจำกัด รอบละ 100 คน **ดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่นี้
  
  

กฎหมายคุ้มครองการขายบริการทางเพศบนสื่ออินเทอร์เน็ต

07/07/2010 เวลา 3:59 AM | เขียนใน กฏหมายเน็ตน่ารู้ | ใส่ความเห็น

กรณีของนักศึกษามหาลัยเอกชนชื่อดังแห่งหนึ่งเสนอขายบริการทางเพศ และโพสรูปไม่สุภาพเพื่อให้เห็นสัดส่วนพร้อมหมายเลขโทรศัพท์สำหรับติดต่อไว้ในเว็บไซต์หลายแห่ง ผู้ขายกล่าวถึงสาเหตุที่ต้องขายบริการว่าต้องการหาเงินเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับการเรียนและค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน

แม้แต่สื่อเครือข่ายทางสังคม (Social networking) เช่น hi5, facebook, multiply และตามเว็บบอร์ดต่างๆ ซึ่งเข้าถึงได้ง่ายก็ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการโพสขายบริการ หรือนำเสนอรูปภาพส่วนตัวของตนเองหรือผู้อื่นเพื่อขายบริการ ซึ่งจะมีข่าวการล่อลวงเหยื่อเด็กผู้ชายตามสถานวัยรุ่น และแอบอ้างว่าเป็นแมวมองหรือเจ้าของค่ายหนังที่ต้องการจ้างเหยื่อไปทำงานในวงการบันเทิง เมื่อเหยื่อหลงเชื่อก็ใช้สารเสพติดและล่วงละเมิดเพื่อถ่ายภาพไว้ข่มขู่

อันที่จริงการขายบริการทางเพศทุกรูปแบบถือว่าเป็นการกระทำผิดกฎหมายประเทศไทย ซึ่งกฎหมายที่คุ้มครองเรื่องการขายบริการทางเพศโดยผ่านสื่ออินเทอร์เน็ตคือ พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณีพ.ศ. 2539 มาตรา 7 กล่าวว่า ผู้ใดโฆษณาหรือรับโฆษณา ชักชวน หรือแนะนำด้วยเอกสาร สิ่งพิมพ์ หรือกระทำให้แพร่หลายด้วยวิธีใดไปยังสาธารณะในลักษณะที่เห็นได้ว่าเป็นการเรียกร้องหรือการติดต่อเพื่อการค้าประเวณีของตนเองหรือผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือนถึง 2 ปี หรือปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

กรณีที่มีการโพสต์รูปภาพที่เป็นสื่อลามกตามเว็บไซด์ต่างๆ ก็ถือเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.550 มาตรา14 ซึ่งชี้ว่า การส่งอีเมล หรือ การส่งต่อเมลที่มีภาพลามกอนาจาร ภาพตัดต่อ ข้อความที่ไม่เป็นจริง ข้อความทำลายชื่อเสียง หรือทำให้บุคคลอื่นเสียหาย เช่นเดียวกับการโพสรูปลามกบนเว็บไซต์ทุกประเภทล้วนผิดกฎหมายทั้งสิ้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน5 ปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ โดยเว็บมาสเตอร์ที่ปล่อยให้การเผยแพร่มีภาพโป๊ ภาพลามกขึ้นในเว็บไซต์ของตนเองจะมีความผิดตามมาตรา 15 ฐานรู้เห็นยินยอมให้เกิดข้อความลามกอนาจาร ต้องระวางโทษในมาตรา 14 เช่นเดียวกัน

อ้างอิง
http://www.classifiedthai.com/content.php?article=3795

http://www.lawyerthai.com/articles/it/013.php

Google.com เตือนพบมัลแวร์กว่า 300,000 เว็บไซต์

01/07/2010 เวลา 4:18 AM | เขียนใน NewsUpdate | ใส่ความเห็น

สื่ออินเทอร์เน็ตเป็นศูนย์รวบรวมข้อมูลอันมหาศาล, แหล่งเงินหมุนเวียนทางธุรกิจ, สื่อปฏิสัมพันธ์ทางสังคมที่เฟื่องฟู, และปัจจุบันก็เป็นที่ซ่อนของแฮกเกอร์มากมายเพื่อก่ออาชญากรรมออนไลน์ เว็บไซต์ Google.com ได้ scan เว็บไซต์บนอินเทอร์เน็ตพบว่ากว่า 300,000 เว็บไซต์ได้เผยแพร่หรือสามารถเข้าถึงมัลแวร์ได้ ซึ่งมีจำนวนที่มากขึ้นกว่า 2 ปีที่แล้ว 2 เท่า ขณะที่ตัวมัลแวร์เองก็ถูกพัฒนาและเปลี่ยนแปลงไปกว่า 240 ล้านโปรแกรม ซึ่งมีลักษณะการฟิชชิ่ง (Phishing) หรือการขโมยข้อมูลส่วนตัว และโจมตีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่างกันทั้งสิ้น และยังไม่รวมถึงการทำโปรแกรมแอนตี้ไวรัสปลอม

แม้แต่เว็บไซต์สำหรับค้นหาข้อมูล (Search Engine) ก็ยังมีโปรแกรมที่ทำปลอมเพื่อแฝงมัลแวร์ และแฮกเกอร์เองก็พยายามใช้ key words อันเป็นที่นิยมของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อสร้างโปรแกรมไวรัสคอมพิวเตอร์และมัลแวร์ที่ค้นหาพบได้ง่ายโดยหาจาก key words นั้นๆ นักท่องอินเทอร์เน็ตยุคใหม่จึงควรเรียนรู้ที่จะป้องกันตนเองจากโปรแกรมมัลแวร์เหล่านั้นเพื่อความปลอดภัยในการออนไลน์ โดยทิปดีๆ สำหรับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทุกท่าน ได้แก่

     1. ป้องกัน Browser ของเครื่องจากมัลแวร์: Internet Explorer กับ Firefox เป็น Browser สองยี่ห้อที่ถูกโจมตีบ่อยที่สุดเพราะมีผู้ใช้จำนวนมาก การอัพเดทเวอร์ชั่นล่าสุดของ Browser ดังกล่าวจึงเป็นการเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยจาก function ที่เพิ่มขึ้นได้
     2. อัพเดทโปรแกรมตระกูล Adobe: โปรแกรมตระกูล Adobe เช่น Adobe Reader (PDF file) หรือ Adobe’s Flash Player นั้นแฮกเกอร์ได้แฝงมัลแวร์ลงไปในไฟล์สำหรับโปรแกรมดังกล่าว ซึ่งผู้ใช้จะติดไวรัสจากการเปิดไฟล์นั้นๆ ซึ่งโปรแกรม Adobe เวอร์ชั่นใหม่ได้มีระบบที่ป้องกันมัลแวร์แฝงเอาไว้ ผู้ใช้จึงควรอัพเดทโปรแกรมดังกล่าวตลอดโดยไปที่เมนู Help และCheck for Updates หรือเข้าไปที่เว็บไซต์ของ Adobe
     3. ระวัง pop-up ที่อาจแฝงมัลแวร์: การโฆษณาที่แฝงมัลแวร์ (Malvertising) กำลังเป็นที่ระบาดโดยเฉพาะการหลอกล่อโดยขึ้น pop-up ว่าพบไวรัสบนเครื่องพร้อมข้อความที่ให้ซื้อโปรแกรมเพื่อจัดการกับไวรัสนั้นๆ โดยด่วน ซึ่งเราควรปิดข้อความนั้นหรือ Browser ทันที
     4. ใช้โปแกรม social networking อย่างฉลาด: แฮกเกอร์มักจะใช้ประโยชน์จากอีเมล, โปรแกรม chat เช่น MSN, และบล็อกส่วนตัว เพื่อโพสข้อความเชิญชวนให้เข้าไปเยี่ยมเว็บไซต์ซึ่งแอบแฝงมัลแวร์เอาไว้ เช่น Koobace worm ซึ่งเป็นกลลวงให้ดาวโหลโปรแกรมเฉพาะเพื่อดูคลิปวีดีโอที่ลงเอาไว้ใน facebook และหากคุณใช้ facebook ประจำก็ควรตั้งค่าให้เพื่อนที่รู้จักเท่านั้นที่เยี่ยมชม profile ของเราได้ และควรตั้งค่าบัญชีให้ตรวจสอบและแจ้งเมื่อมีการเข้าใช้บัญชีในคอมพิวเตอร์ที่ไม่เคยใช้มาก่อนโดยไปที่ “บัญชีผู้ใช้” และ “ตั้งค่าบัญชีผู้ใช้” และเลือก “ความปลอดภัยของบัญชีผู้ใช้”

แหล่งข่าว
 เว็บไซต์ http://www.taipeitimes.com/News/feat/archives/2010/05/23/2003473671

 

บลอกที่ WordPress.com .
Entries และ ข้อคิดเห็น feeds.