กฎหมายในการจัดการกับ Spam mail ที่สร้างความรำคาญและฉ้อโกง

05/03/2010 เวลา 4:43 AM | เขียนใน กฏหมายเน็ตน่ารู้ | ใส่ความเห็น

    

 จดหมายขยะ (สแปมเมล) นับว่าเป็นอีกปัญหาใหญ่ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต เพราะผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทุกคนมักจะถูกรบกวนและอาจยังมีภัยคุกคามอื่นแอบแฝงมาพร้อมกับจดหมายเหล่านี้ด้วย เช่น ไวรัส, สปายแวร์, หรือแม้แต่กลลวงทางการเงิน (Phishing)หลายคนคงสงสัยว่าสแปมเมลคืออะไร และเกิดขึ้นได้อย่างไร คำตอบคือ แสปมเมลเป็นการส่งอีเมลจำนวนมากๆ ในแต่ละครั้งหนึ่ง หรือทะยอยส่ง แต่ส่งจำนวนมากฉบับ สำหรับวัตถุประสงค์ในการส่งนั้น มีหลากหลาย ตั้งแต่การโฆษณาสินค้า เว็บไซต์ลามก การพนันออนไลน์ การโจมตีระบบ การกลั่นแกล้ง ชักจูงใจต่างๆ รวมถึงการหลอกเพื่อขโมยข้อมูลส่วนบุคคล และขโมยเงิน เช่น อีเมลส่งมาว่าผู้รับโชคดีถูกรางวัลล็อตเตอรี่จากต่างประเทศ แต่ในการที่จะไปรับมูลค่าตั้งหลายพันล้านนั้นก็จะต้องมีการโอนเงินค่าภาษีไปชำระก่อนล่วงหน้าหรืออีเมลที่อ้างว่าส่งมาจากธนาคาร และหลอกให้เรากรอกข้อมูลส่วนตัวและข้อมูลทางการเงินบนเว็บไซต์ที่ถูกปลอมแปลงขึ้นมา

     กฎหมายใช้ในการเอาผิดกับสแปมเมลคือ พรบ.คอมพิวเตอร์ 2550 มาตรา 11  “ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นโดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยปกติสุข ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท” (มีแต่โทษปรับไม่มีโทษจำคุก)ส่วนกรณีที่สแปมเมลสร้างความเสียหายดังเช่นตัวอย่างข้างต้น ก็สามารถนำกฎหมายอาญาเรื่องการฉ้อโกง มาตรา 341 คือ “ผู้ใดโดยทุจริตหลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง และโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม รวมถึงการหลอกลวงให้ทำ ถอน หรือ ทำลายเอกสารสิทธิ   ผู้ที่กระทำความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” มาใช้เพื่อเพิ่มบทลงโทษได้

 ข้อแนะนำสำหรับการป้องกันสแปมเมล วิธีที่ดีสุดคือการที่ป้องกันไม่ให้คนที่ไม่รู้จักได้รู้อีเมลแอดเดรสของเรา ซึ่งสามารถป้องกันได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้
     1.ไม่ตอบกลับอีเมลที่ส่งมาเพราะเท่ากับเป็นการยืนยันอีเมลแอดเดรสของคุณและทำให้คุณตกเป็นเป้าหมายที่ชัดเจนมากขึ้น
     2.ไม่ควรใช้อีเมล์แอดเดรสที่ใช้ในองค์กร หรือที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ในการลงทะเบียนใดๆ บนอินเตอร์เน็ต
     3.ไม่ซื้อสินค้าใดๆที่โฆษณาทางสแปมเมลเพราะจะทำให้ผู้ส่งสแปมเมลใช้วิธีนี้ส่งมาเรื่อยๆ
     4.ถ้าเมื่อใดที่เจออีเมลประเภทสแปมเมลหลอกลวง ให้ทำการส่ง Header หรือหัวจดหมายของอีเมลฉบับนั้น ไปให้กับทางผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) ที่ใช้งานอยู่

ที่มา

http://www.thaihotline.org/InternetLaw.php?act=sh&Id=Ng==

ให้ความเห็น »

RSS feed for comments on this post. TrackBack URI

ใส่ความเห็น

บลอกที่ WordPress.com .
Entries และ ข้อคิดเห็น feeds.